|
|
|
ประชาชนในพื้นที่ตำบล มีการดำรงชีวิตแบบวิถีชาวพุทธ มีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจให้เกิดความรักใคร่ สามัคคีกลมเกลียวกัน นอกจากนี้ประชาชนในตำบลทุก คนก็ยังมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 |
|
|
|
ประชาชนชาวตำบลมหาสอน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ |
|
|
|
|
|

 |
โรงเรียนประถมศึกษา |
จำนวน |
2 |
แห่ง |

 |
โรงเรียนประถมศึกษา - มัธยมศึกษา |
|
|
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
จำนวน |
2 |
แห่ง |
ประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลมหาสอน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชสำคัญที่ทำการเพาะปลูก ได้แก่ ข้าว อาชีพที่ทำรายได้รองลงมาจากเกษตรกรรมคือ การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ เป็ด รวมทั้งประมงน้ำจืด |
|
|
|
|

 |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมหาสอน |
|
|
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 |
|
|
|
|
|
|
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ณ วัดห้วยแก้ว หมู่ที่ 1 ตำบลมหาสอน โดยกระทำกันเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 และจะนำไปถวายพระในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พิธีกวนข้าวทิพย์จะเริ่มต้นด้วยพิธี พราหมณ์ แล้วจึงตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดา เครื่องประกอบในการตั้งบายศรี มีไตรจีวร 1 ชุด ถาดใส่อาหารมีข้าว ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ จากนั้นพราหมณ์จะสวดชุมนุมเทวดา แล้วจึงเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำเอาข้าวที่ยังเป็นน้ำนม หมายถึง |
|
|
ข้าวที่เพิ่งออกรวงใหม่ที่เมล็ดยังเป็นแป้งอยู่ นำมาเอาเปลือกออก นอกจากนั้นยังมีนม เนย ถั่ว น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง ตลอดจนผลไม้ต่าง ๆ ใส่รวมกันไปแกล้วกวนให้สุกจนเหนียว พิธีการกวนข้าวทิพย์ จะต้องใช้สาวพรหมจารีย์ นุ่งขาวห่มขาวอย่างน้อย 4 คน เป็นผู้กวน พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พวกทายก ทายิกา จะช่วยกันปั้นข้าวทิพย์เป็นก้อนๆ ถวายแด่พระภิกษุภายในวัด และจัดแบ่งไปถวายพระภิกษุตามวัดต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียง นอกนั้นที่เหลือจะแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ที่ไปร่วมทำบุญในวันนั้นเพื่อเป็นการให้ทาน |
|
|
|
|

 |
ด้านหัตถกรรม จักสานหวาย OTOP 4 ดาว เป็นภูมิปัญญาที่สืบสานจากบรรพบุรุษ กว่า 150 ปี ด้วยลวดลายวิจิตรบรรจงถักทอจากหวายเส้นเล็ก เกิดผลงานที่สวยสะดุดตา |

 |
ด้านเกษตรกรรม มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริ โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ โดยการปลูกพืชผักสวนครัว ไม้ยืนต้น และการเลี้ยงสัตว์ผสมผสานกันไป |
|
|
|